https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
Menu Left
HR Dictionary
 
  • Update :(14/9/2017)
     การวางแผนกำลังคน (Workforce Planning)เป็นกระบวนการสร้างความ สอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่างทิศทางการ บริหารงานของหน่วยงาน กับกลยุทธ์ด้านทุนมนุษย์ของ องค์กร โดยมีเป้ าหมายเพื่อให้องค์กรมีทรัพยากรบุคคล ที่เหมาะสม มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน และสอดคล้องกับเงื่อนเวลา
  • Update :(14/9/2017)
     การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านกระบวนการภายในองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นเทคนิคการจัดการที่เป็นส่วนหนึ่งของความสามารถหลักของผู้บริหาร การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ 1) การบริหารทิศทางการเปลี่ยนแปลง 2) การพัฒนาความสามารถของบุคลากร 3) การปรับบุคลากรให้เข้ากับองค์กร และ 4) การพัฒนาความพร้อมขององค์กร
  • Update :(14/9/2017)
     “วิทยากรกระบวนการ” ก็จะหมายถึง ผู้ทำให้เกิดความสะดวก หรือผู้ที่ทำให้เกิดความง่าย ในที่นี้เป็นความหมายกว้างๆ ไม่เจาะจงว่าอำนวยความสะดวกในเรื่องใด หากมองไปที่ความหมายของการเรียนรู้ น่าจะหมายถึงผู้ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ และยังมีทักษะที่สำคัญในบทบาทของผู้เชื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Catalyst) และหากมองในภาพรวมเพื่อความยั่งยืน facilitator จะทำหน้าเป็นผู้ประสานงานให้เกิดเครือข่าย (Networker)
  • Update :(14/9/2017)
     Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกันเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติ
    สูตรของการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้ของคนจะเกิดขึ้นโดยมีสมการ L = P+Q+R คือ การเรียน (Learning) เกิดจากความสัมพันธ์ของความรู้ที่เคยรับรู้หรือเกิดขึ้นมาแล้ว (Programmed instruction) รวมกับการสอบถาม (Questioning) และการคิดไตร่ตรองสิ่งใหม่ๆ (Reflection)
  • Update :(14/9/2017)
    Succession Planning หรือการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง หมายถึง การเฟ้นหาบุคคลภายในองค์กรที่เป็น “ดาวเด่น” (Talent) ที่สามารถสร้างผลงานที่ดีเลิศตามที่องค์กรคาดหวัง เพื่อให้ดำรงตำแหน่งหนึ่งๆ ทันทีที่ ตำแหน่งนั้นๆ ว่างลง โดยทั่วไปองค์กรจะเตรียม “ดาวเด่น” จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คนไว้สำหรับรองรับที่ ตำแหน่งนั้นโดย “ดาวเด่น” ดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิรวมทั้งมีความพร้อมที่จะ ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ที่ว่างลงในทันทีตามที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตาม ในที่สุดองค์กรจะคัดเลือกผู้สืบทอด ที่ ตำแหน่งนั้น(Successor) ให้เหลือเพียง 1 คน ด้วยเกณฑ์การ “คัดเลือก” ขององค์กร เพื่อให้ผู้ที่ “พร้อมและ เหมาะสมมากที่สุด” เป็นผู้สืบทอดที่ ตำแหน่งนั้น(Successor) ซึ่งถือเป็นการมอบหมายงานที่สำคัญขององค์กร ให้แก่ผู้ที่เหมาะสมในเวลาอันควร (Put the right person on the right job at the right time) เพื่อให้ งานในความรับผิดชอบของที่ ตำแหน่งนั้นดังกล่าวมีความต่อเนื่อง โดยไมเกิดการสะดุดไม่ว่ากรณีใดๆ ในอดีตการจัดทำ “แผนการสืบทอดที่ ตำแหน่งนั้น” มักมุ่งไปที่ที่ ตำแหน่งนั้นผู้บริหารระดับสูงของ องค์กรเท่านั้น เช่น ผู้อำนวยการสำนักงาน หรือรองผู้อำนวยการ เป็นต้น ด้วยความเชื่อที่ว่าผู้บริหารที่มาก ด้วยความสามารถเพียงผู้เดียว ก็จะนำพาองค์กรให้เติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน แต่ด้วย สภาพการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน การวางแผนการสืบทอดที่ ตำแหน่งนั้นจึงไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงที่ ตำแหน่งนั้นผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความสำเร็จขององค์กรมิได้ขึ้นอยู่กับ “ผู้นำ หรือผู้บริหารระดับสูง” เพียงคนเดียว หากแต่ยังต้องอาศัยความชำนาญและความเชี่ยวชาญที่หลากหลายของข้าราชการในแต่ละ ระดับเช่นกัน ดังนั้น แม้องค์กรจะมีผู้นำที่เปรียบเสมือนแม่ทัพที่มากด้วยความสามารถและมีวิสัยทัศน์แต่ หากขาด “ขุนพล” ที่เก่งกล้า และสามารถแปลงวิสัยทัศน์ดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติแล้ว ผู้นำองค์กรก็ไม่ สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้เช่นกัน ระบบการสืบทอดตำแหน่งใน ปัจจุบัน จึงครอบคลุมที่ ตำแหน่งนั้นอื่นๆ ที่สำคัญและเป็นเสมือน “หัวใจ” ขององค์กรด้วย
  • Update :(14/9/2017)
    โปรแกรมพี่เลี้ยง (Mentoring Program) โปรแกรมพี่เลี้ยง เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของการพัฒนาบุคลากรในองค์การที่ได้รับความสนใจจากผู้บริหารและมีการนำมาใช้ปฏิบัติแล้วในหลาย ๆ องค์การ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวนี้เน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Developmental Partnership) จากบุคคลที่ต้องทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลต่างๆ และมุมมองส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้อีกฝ่ายมีความพร้อมในการทำงานพร้อมที่จะเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้าในสายอาชีพ โปรแกรมการเป็นพี่เลี้ยงจึงเป็นรูปแบบของการมองจากคนภายนอกต่อการดำเนินชีวิตปกติและประสบการณ์ในการทำงานของอีกฝ่าย โปรแกรมพี่เลี้ยงจึงเป็นรูปแบบการพัฒนาที่เน้นให้เกิดการสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วม การแก้ไขปัญหา และการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ
    John C.Crosby ได้กล่าวว่า “โปรแกรมการเป็นพี่เลี้ยงหมายถึงโปรแกรมที่ต้องใช้ความคิดในการวิเคราะห์ ใช้หูในการรับฟัง และการนำเสนอทิศทางที่ถูกต้องให้กับอีกฝ่าย” ดังนั้นรูปแบบของการเป็นพี่เลี้ยงจึงเป็นกระบวนการของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ หรือที่เรียกว่า Mentor ให้กับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานในองค์การนั้นไม่มากนัก หรือที่เรียกว่า Mentee
    การทำ Mentoring จะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับองค์การจะต้องมีระบบการคัดเลือก ทดสอบ คุณสมบัติ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่พี่เลี้ยง เพื่อค้นหา และพัฒนาพี่เลี้ยงให้เป็นบุคลากรที่มีความสามารถ รวมถึงการจัดระบบการฝึกอบรมพัฒนาความสามารถของการเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ทำให้พี่เลี้ยงรู้บทบาทหน้าที่ รู้วิธีการและขั้นตอนการเป็นพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ
  • Update :(26/9/2017)
     การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นวิธีการหนึ่งที่จัดเป็นกิจกรรมกลุ่มสร้างสรรค์กึ่งโครงสร้างที่ใช้บ่อยที่สุดในการประชุมทางธุรกิจเฉพาะกิจ ทำให้เกิดความคิดใหม่ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือการปรับปรุงงานของสมาชิกของกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนที่จะนำส่งความคิดเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการที่อาจจะได้รับการแก้ไข เพื่อที่จะสร้างความคิดให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  • Update :(6/12/2017)
    ภาวะวิกฤติ คือ สภาพของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่เป็นปกติทั่วไป และสถานการณ์วิกฤติจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าองค์กรจะมีความพร้อมในการรับมือและจัดการกับวิกฤติให้ผ่านพ้นไปได้อย่างไรโดยไม่เกิดความวุ่นวายหรือเกิดผลเสียหายต่อองค์กร
  • Update :(12/12/2017)
     "Good Governance หรือ ธรรมาภิบาล" คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
  • Update :(17/12/2017)
     Diversity Awareness คือ ความแตกต่างของมนุษย์ที่มีลักษณะไม่เหมือนกับคนอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คนเราแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างจากคนอื่นๆ ในหลายๆ มิติ ซึ่งได้แก่ ความเชื่อทางศาสนา เพศ การแข่งขัน สถานภาพ เชื้อชาติ สถานะของการเป็นผู้ปกครอง การศึกษา อายุ ความสามารถทางร่างกายและจิตใจ รายได้ อาชีพ รสนิยมทางเพศ ภาษา ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สถานภาพการเป็นทหารผ่านศึก ซึ่งเราทุกคนจะมีความสมบูรณ์แบบในตัวของเราเองและเราจะมีความหลากหลายไม่สิ้นสุด
  • Update :(21/12/2017)
     WORK SMARTER คือ การทำงานอย่างชาญฉลาด รู้จักบริหารเวลาอย่างคุ้มค่าและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจะต้องสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์และแยกแยะถึงผลที่จะเกิดขึ้น
  • Update :(27/1/2018)